You are not logged in.
บางคนคงเคยได้ยินมาบ้างแล้ว บางคนอาจจะกำลังติดมันอยุ่ บางคนอาจจะบอกว่าจะอะไรก็ช่างบอกๆมาซะทีดิวะว่ามันคืออะไร หุหุ
บทความนี้ตัดมาจากมติขนสุดสัปดาห์นะครับ
โลกบ้าคลั่งปริศนา Sudoku
อาหารสมอง วีรกร ตรีเศศ Varakorn@dpu.ac.th มติชนรายสัปดาห์ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2548 ปีที่ 25 ฉบับที่ 1309
ถ้าถามคนชอบเล่นอะไรใหม่ๆ ว่าอะไรคือสิ่งที่ร้อนแรงที่สุดในโลกในขณะนี้ คำตอบก็คงจะเป็น Sudoku เพราะในแต่ละวันคาดว่าจะมีคนเล่นนับร้อยๆ ล้านคน ซึ่งเป็น ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วยิ่งในระยะเวลาปีเศษๆ เท่านั้น
ถึงแม้ว่า Sudoku จะเป็นชื่อญี่ปุ่น ซึ่งแปลว่าตัวเลขเดียว (ซู-โด-กู มาจาก Su = ตัวเลข กับ Doku = เดี่ยวหรือโสด) แต่ก็ไม่ได้เป็นสิ่งประดิษฐ์ของญี่ปุ่น หากผู้คิดค้นขึ้นคืออเมริกันแต่ไปเติบโตในญี่ปุ่น Sudokuคือเกมส์ปริศนาคำไขว้ หรือ Word Puzzles แต่ต่างกันตรงที่ว่า Sudoku ไม่ต้องอาศัยความรู้ด้านภาษาแต่อย่างใดเพราะไม่ใช่ตัวอักษร หากใช้ตัวเลขจาก 1 ถึง 9 เท่านั้น ผู้เล่นใช้เพียงวิธีคิดอย่างมีเหตุมีผลก็สามารถไขปริศนาได้
ในญี่ปุ่น อังกฤษ หรือสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันจะเห็นคนยืนคอยรถไฟใต้ดิน รถเมล์หรือขณะโดยสารจำนวนมากมือหนึ่งถือหนังสืออีกมือถือหนังสือพิมพ์หรือหนังสือที่พิมพ์ Sudoku เล่นกันอย่างเอาจริงเอาจัง
Sudoku มันเล่นกันยังไงผู้คนถึงติดกันงอมแงม ? ปริศนา Sudoku ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์นับร้อยๆ เล่มในโลก ในแต่ละวันมีรูปตารางใหญ่ 9x9 ช่อง และในตารางใหญ่นี้จะแบ่งออกเป็นอีก 9 ตารางเล็ก (แต่ละตารางเล็กก็คือ 3x3 ช่อง) กติกาก็มีง่ายๆ ว่าจากบางตัวเลขที่บอกใบ้ปรากฏอยู่แล้วในตาราง ผู้เล่นจะต้องเต็ม ตัวเลข 1 ถึง 9 (ตัวเลขเดียว) ให้เต็มหมด โดยแต่ละช่องเรียงแนวตั้งและแนวนอนจะต้องมีเลขครบจาก 1 ถึง 9 และในแต่ละตารางเล็กที่มี 9 ช่องก็จะต้องมีเลข 1 ถึง 9 ครบอีกเช่นกัน
ผมได้ลองเล่นดูก็รู้สึกสนุกเพราะตรรกกับวิธีการคิดแบบ Deductive Thinking (คิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล เช่นสิ่งหนึ่งถ้าเป็นอย่างนี้ผลของมันก็ต้องเป็นอย่างนี้) จะช่วยให้สามารถเติมตัวเลขลงในแต่ละช่องได้ทีละน้อยคล้ายกับเล่มปริศนาคำไขว้ แต่สนุกกว่าตรงที่ไม่ต้องใช้ความรู้ หากซื้อหนังสือที่พิมพ์ตาราง Sudoku ก็จะเล่นระดับง่ายไปจนถึงยากได้เลย
ไอเดียของ Sudoku อาจไล่ย้อนไปถึงสิ่งที่เรียกว่า Latin Squares หรือตารางที่ประกอบด้วย NxN ช่อง (ตามแนวนอน จำนวน N ช่อง และแนวตั้งจำนวน N ช่อง เช่น 9x9 ช่อง ก็รวมเป็น 81 ช่อง) โดยมีหมายเลขเรียงไปตั้งแต่ช่อง 11 (แถวนอนที่ 1 กับแถวตั้งที่ 1) ช่องที่ 12 (แถวนอนที่ 1 กับแถวตั้งที่ 2) นักคณิตศาสตร์ชื่อ Leonhard Euler เป็นผู้คิดสิ่งนี้ซึ่งบางที เรียกว่า Graeco-Latin Squares ขึ้นในปี ค.ศ.1783
จาก 1783 ได้กลายเป็นเกมส์ปริศนาที่เรียกว่า Number Place ในนิตยาสาร Dell Pencil Puzzles and Word Games ในตอนปลายทศวรรษ 1970 ผู้สร้างเกมส์ปริศนานี้ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็น Sudoku คือ Howard Garnes ในปี 1979 แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมจนกระทั่งย้ายไปดังในญี่ปุ่น
ในปี 1984 บริษัท Nikoli ในญี่ปุ่น ซึ่งตีพิมพ์นิตยสารปริศนาเช่น คำไขว้ ตัวเลขแอบซ่อน ภาพแอบซ่อน ฯลฯ ได้นำ Number Place มาให้คนญี่ปุ่นเล่น โดยตั้งชื่อว่า Suuji Wa Dokushin Ni Kagiru และเป็นที่นิยมอย่างมาก
ในปี 1986 ได้มีการปรับปรุงเกมส์ Number Place และเปลี่ยนชื่อใหม่ให้จำง่ายๆ ว่า Sudoku ในญี่ปุ่นในแต่ละเดือนบรรดานิตยสารที่ตีพิมพ์เกมส์ Sudoku มียอดขายถึงกว่า 600,000 ฉบับในปัจจุบัน
ในช่วงเวลาที่ Sudoku ดังระเบิดในญี่ปุ่นนั้นคนยุโรปและคนอเมริกันแทบจะไม่ให้ความสำคัญเลย จนกระทั่งในปี 1997 Wayne Gould อดีตผู้พิพากษาชาวนิวซีแลนด์ได้เข้า ร้านขายหนังสือญี่ปุ่นเพื่อฆ่าเวลา ถึงแม้จะอ่านภาษาญี่ปุ่นไม่ออกสักตัว แต่เมื่อพบหนังสือ Sudoku ก็ซื้อมาเล่นอย่างพอเดากติกาได้ เมื่อเกิดติดใจก็คิดหาเงินจากเกมส์นี้ด้วยการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ผลิตเกมส์ Sudoku อย่างไม่รู้จบขึ้น (แต่ละเกมส์จะมีตัวเลขบอกใบ้ไม่เหมือนกัน)
ในเดือนพฤศจิกายน 2004 Gould เดินทางไปลอนดอน (เขามีบ้านพักผ่อนอยู่ภูเก็ต) ไปพบผู้บริหารหนังสือพิมพ์ The Times of London และให้ข้อเสนอที่ไม่อาจปฏิเสธได้ (พูดตามสำนวน The Godfather) นั่นก็คือเขาจะส่งให้ฟรีวันละหนึ่งเกมส์ โดยมีข้อแม้ว่าให้พิมพ์ชื่อเว็บไซด์ของเขาด้วย เพื่อเขาจะได้ขายโปรแกรมซอฟต์แวร์ซึ่งสามารถผลิตเกมส์ Sudoku เล่นเองได้ไม่รู้จบในราคา 14.95 เหรียญสหรัฐ (620 บาท)
ผลปรากฏว่าคนอังกฤษเล่นกันระเบิดเถิดเทิง หนังสือพิมพ์อื่นๆ ก็จำต้องมีเกมส์ Sudoku ให้เล่นด้วยมิฉะนั้นจะแข่งขันไม่ได้ ปัจจุบัน Gould ผู้ได้กลายเป็นมหาเศรษฐีไปแล้ว ส่ง Sudoku ฟรีให้หนังสือพิมพ์ 120 ฉบับ ใน 36 ประเทศในแต่ละวัน
ความบ้าคลั่ง Sudoku กระจายไปทั่วออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ นับตั้งแต่ต้นปี 2005 เป็นต้นมา Sudoku ได้ย้อนกลับไปนิวยอร์คบ้านเกิดคือนิตยสาร Dellผู้ให้กำเนิด ในเดือนเมษายน 2005 Sudoku ปรากฏใน New York Post และต่อมาลามไปถึงหนังสือพิมพ์ในภูมิภาคอื่นๆ ของสหรัฐอเมริกา หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ USA Today เริ่มตีพิมพ์ Sudoku ในเดือนกรกฎาคม 2005
ปัจจุบันได้เกิดสิ่งต่างๆ เกี่ยวกับ Sudoku ขึ้นหลากหลายในโลก หนังสือเกี่ยวกับ Sudoku ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า มี Sudoku บนมือถือ เกมส์ไพ่ การแข่งขัน Sudoku มีแม้กระทั่งเกมส์โชว์ Sudoku และ Sudoku ในสามมิติ จน Sudoku กลายเป็น "Puzzle ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก"
ผู้คนในประเทศไทยยังเงียบเฉยกับ Sudoku ถึงแม้ว่านิตยสารลับสมองจะมีเกมส์คล้ายกันให้เล่นมาหลายปีแล้วในชื่อ "9x9" เยาวชนบ้านเราดูจะสนใจการ์ตูน ฟัง MP3 พูดโทรศัพท์มือถือมากกว่าเกมส์ที่ใช้สมอง
เสน่ห์ของ Sudoku ก็คือใครก็สามารถเล่นได้โดยไม่ต้องใช้ความสามารถในการคิดเลข ไม่ต้องมีพื้นฐานความรู้คณิตศาสตร์ ไม่ต้องมีพื้นฐานการศึกษาในเรื่องใดเลย ขอให้เป็นคนที่มีความอดทน มีความมุ่งมั่นและมีความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลก็สนุกได้
ประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุก็คือการใช้สมองทำให้โรคอัลไซเมอร์มาเยือนได้ช้าลง และทำให้ความเสื่อมตามโรคอัลไซเมอร์ชลอตัวลงด้วย (ข้อมูลหลักจาก The Nation, 11 กันยายน 2005 ; ลองเล่น Sudoku ที่
http://puzzles.usatoday.com/sudoku
ใครว่างๆ(จริงๆนะครับ)ลองเข้าไปเล่นกันดูครับ หุหุหุ
.. เอามาจาก http://www.suanboard.net/view.php?p=view&kid=27487
หนุกดีน้ะ เกมลับสมอง..
Offline
ขอบใจสหาย
ลูกผู้ชายมีบ้างไม่พึงกระทำ บ้างพึงกระทำ
มีเรื่องบางประการทราบดีว่าทำไม่ได้ยังมิอาจไม่กระทำ
Offline
Offline
เล่นตอนแรกก็พอได้ เล่นไปนานๆเริ่มมึน เริ่มผิด เริ่มมั่ว =V=
งงดีแท้ *0*
Offline
ของ http://www.miniclip.com สวยกว่าลองไปเล่นดูหาเอง
Offline
Offline