You are not logged in.
Pages: 1
ลองให้ มาอ่านเล่นๆครับ แล้ว พิจารณาเอาเอง
ผ่า 50 อันดับร.ร.โอเน็ตสูงสุด สะท้อนนโยบาย "รับน.ร." เหลว!!
ข้อมูลจาก
หนังสือพิมพ์มติชน
หลังสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ประกาศผลการจัดอันดับโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ ที่นักเรียน ม.6 สอบได้คะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต สูงสุด 50 อันดับแรก จากทั้งหมด 2,875 โรง แบ่งเป็นคะแนนเฉลี่ยรวม 5 รายกลุ่มสาระการเรียนรู้ และคะแนนเฉลี่ยรายกลุ่มสาระ ได้แก่ ภาษาไทย สังคม อังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ออกมาสร้างสีสันให้กับวงการศึกษาไทยอีกครั้ง ไม่ใช่เรื่องแปลกที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ผลัดกันคว้าที่ 1 และที่ 2 แทบทุกรายกลุ่มสาระ เนื่องจากโรงเรียนเตรียมอุดมฯ เป็นแหล่งรวมเหล่าบรรดานักเรียนหัวกะทิจากทั่วประเทศเอาไว้ ทำให้มีคะแนนเฉลี่ยอันดับ 1 ในรายกลุ่มสาระ ภาษาไทย 76.58 สังคมศึกษา 71.23 และภาษาอังกฤษ 68.77
ขณะเดียวกัน โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ก็เป็นโรงเรียนสำหรับผู้ที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ ก็มีคะแนนเฉลี่ยอันดับ 1 ในกลุ่มสารวิทยาศาสตร์ 80.65 และคณิตศาสตร์ 87.12 รวมถึง มีคะแนนเฉลี่ยรวมทั้ง 5 กลุ่มสาระ สูงสุด คือ 376.91 ส่วนอันดับ 2 เป็นของโรงเรียนเตรียมอุดมฯ 355.53
แต่ที่น่าแปลกใจ และผิดคาดสำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือแม้แต่ผู้ที่อยู่ในแวดวงการศึกษาเอง ก็คือโรงเรียนที่ได้คะแนนเฉลี่ยในอันดับอื่นๆ ไปจนถึงอันดับที่ 50 ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัยต่างๆ และโรงเรียนเอกชนเกือบทั้งสิ้น ส่วนโรงเรียนรัฐที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งนอกเหนือจากโรงเรียนเตรียมอุดมฯแล้ว มีเพียงไม่กี่โรงที่ติดอยู่ใน 50 อันดับแรก และยังติดในอันดับที่ต่ำกว่าโรงเรียนสาธิตฯ และโรงเรียนเอกชนอีกด้วย
อย่างในกลุ่มของคะแนนเฉลี่ยโอเน็ตรวมทั้ง 5 กลุ่มสาระ ปรากฏว่านอกจากโรงเรียนเตรียมอุดมฯ ที่มีคะแนนอันดับ 2 แล้ว โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย ตรัง อยู่อันดับ 8 โรงเรียนสตรีวิทยา อันดับ 24 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย อันดับ 35 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) อันดับ 36 โรงเรียนศึกษานารี อันดับ 44 และโรงเรียนหอวัง อันดับ 49
ขณะที่อันดับ 3 เป็นโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) นครปฐม อันดับ 4 โรงเรียนสาธิต มรภ.พระนครศรีอยุธยา อันดับ 5 โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย อันดับ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อันดับ 7 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน อันดับ 9 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม) และอันดับ 10 โรงเรียนจิตรลดา ส่วนอันดับอื่นๆ ก็มีทั้งโรงเรียนสาธิตฯ และโรงเรียนเอกชนติดเข้ามาจำนวนมาก
ทำให้เกิดคำถามมากมายเกี่ยวกับ "คุณภาพ" ของโรงเรียนรัฐสังกัด สพฐ.ในยุคนี้ ว่าเพราะเหตุใดมาตรฐานจึงตกต่ำ โดยเฉพาะต่ำกว่าโรงเรียนเอกชนจำนวนมาก ทั้งๆ ที่โรงเรียนรัฐเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนสวนกุหลาบฯ โรงเรียนสตรีวิทยา โรงเรียนบดินทร์เดชาฯ โรงเรียนหอวัง ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นโรงเรียนชื่อดัง แต่ละปีจะมีผู้ปกครองจำนวนมากกระเสือกกระสนอยากให้ลูกหลานได้เข้าเรียน โดยเฉพาะโรงเรียนสวนกุหลาบฯ ที่ขับเคี่ยวสูสีกับโรงเรียนเตรียมอุดมฯ มาโดยตลอด อีกทั้งในอดีตยังได้ชื่อว่าเป็นโรงเรียนที่สร้าง "ผู้นำ" และ "ผู้บริหารระดับสูง" ให้กับหน่วยงานต่างๆ ของประเทศจำนวนมาก แต่ทำไมจึงไปโผล่ในอันดับที่ 35 ได้
ขณะเดียวกัน โรงเรียนเอกชนที่ติดใน 50 อันดับมีถึง 23 แห่ง เช่น โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย อันดับ 5 โรงเรียนจิตรลดา อันดับ 10 โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ อันดับ 11 โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย อันดับ 13 โรงเรียนราชินี อันดับ 14 โรงเรียนราชินีบน อันดับ 15 โรงเรียนธิดานุเคราะห์ อันดับ 16 โรงเรียนบูรณะรำลึก อันดับ 17 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล อันดับ 18 โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ อันดับ 20 ฯลฯ ซึ่งนายอนุสรณ์ ไทยเดชา ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) มองปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเพราะโรงเรียนเอกชนส่วนใหญ่ยังคงรักษาคุณภาพ และพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนให้สูงขึ้นได้ แม้จะอยู่ในช่วงที่วิกฤต หรือมีการปฏิรูปการศึกษาก็ตาม
แต่ฝ่ายที่รับผิดชอบโรงเรียนสังกัด สพฐ.โดยตรง อย่างนางอารีรัตน์ วัฒนสิน รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กลับมองว่าการจัด 50 อันดับของ สทศ.ไม่สามารถวัดคุณภาพโรงเรียนในสังกัด สพฐ.ว่าอยู่ในระดับสูง หรือต่ำได้ เพราะนักเรียนทุกคนไม่ได้มุ่งเรียนต่อมหาวิทยาลัย จึงไม่ตั้งใจทำข้อสอบ เพราะมีนักเรียนเพียง 40-50% ที่มุ่งมั่นจะเรียนต่อในระดับมหาวิยาลัย ซึ่งต่างจากนักเรียนโรงเรียนสาธิตฯ หรือโรงเรียนเอกชน ที่ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดตั้งใจทำข้อสอบ เพราะมุ่งเข้ามหาวิทยาลัยมากกว่า ดังนั้น ถ้านำคะแนนสอบทั้งโรงเรียนมาคิดคะแนนเฉลี่ยทำให้คะแนนถูกดึงลงมา
นอกจากนี้ ยังมองว่ามีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้คะแนนเฉลี่ยของโรงเรียนรัฐต่ำกว่าโรงเรียนสาธิตฯ และโรงเรียนเอกชน คืองบประมาณที่ได้น้อยกว่า อย่างโรงเรียนสังกัด สพฐ.ได้เงินอุดหนุนรายหัว หัวละ 1,000 บาท แต่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้หัวละ 100,000 บาท แถมยังคัดหัวกะทิได้ก่อน ฉะนั้น เมื่อปัจจัยต่างกันมาก การจัดอันดับจึงไม่ยุติธรรม ส่วนผู้ที่ตั้งข้อสังเกตในเรื่องนี้เป็นคนแรกอย่างเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) นายภาวิช ทองโรจน์ มองว่า สิ่งที่ทำให้โรงเรียนสาธิตฯมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าโรงเรียนรัฐที่สังกัด สพฐ.เพราะโรงเรียนสาธิตฯ สามารถคัดเลือกเด็กเก่งเข้าเรียนโดยไม่ได้อยู่ภายใต้นโยบายการรับนักเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เหมือนโรงเรียนสังกัด สพฐ.ที่ต้องแบ่งสัดส่วน "การรับนักเรียน" ในเขตพื้นที่บริการ การจับสลาก ส่วนการสอบคัดเลือกมีเพียงเล็กน้อย ทำให้คัดหัวกะทิไม่ได้
"แม้แต่สวนกุกลาบฯ ซึ่งคู่คี่กับเตรียมอุดมฯมาตลอด ยังแพ้เตรียมอุดมฯ ขนาดสาธิต มรภ.มหาสารคามยังติดอันดับสูงกว่า เป็นอุทาหรณ์ว่าโรงเรียนบางประเภทควรเป็นโรงเรียนบ่มเพาะเด็กที่เรียนดีเพื่อไปเป็นบุคลากรระดับสูงของประเทศ โดยเฉพาะโรงเรียนที่เคยสร้างผู้นำมามากมายอย่างสวนกุหลาบฯ แต่คะแนนกลับต่ำลง ไทยจึงควรมีโรงเรียนสำหรับผู้นำ เพราะศักยภาพของโรงเรียนรัฐสังกัด สพฐ.หลายๆ แห่งทำได้ ไม่ว่าจะเป็นสวนกุหลาบฯ หรือเทพศิรินทร์ เป็นต้น" สิ่งที่สะท้อนออกมาจากการจัด 50 อันดับคะแนนเฉลี่ยโอเน็ตครั้งนี้ นายภาวิชยังมองไปถึงผู้เกี่ยวข้อง คือ กระทรวงศึกษาธิการต้องนำมาพิจารณาในเชิงยุทธศาสตร์ ว่าจำเป็นหรือไม่ที่โรงเรียนทั่วประเทศต้องมีแนวทางการรับนักเรียนเหมือนกัน เพราะไม่เช่นนั้น ก็จะเกิดปรากฏการณ์ที่ว่าคะแนนเฉลี่ยของโรงเรียนสวนกุหลาบฯ ยังแพ้โรงเรียนสาธิตฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน แต่ที่เป็นเช่นนี้เพราะโรงเรียนสวนกุหลาบฯ "แพ้" ตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบแล้ว
ถึงเวลาแล้วที่รัฐมนตรี และผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ คงต้องปรับทัศนคติเกี่ยวกับแนวทาง "การรับนักเรียน" เสียใหม่ เพื่อให้โรงเรียนที่มีศักยภาพอยู่แล้วสามารถคัดเลือกคนดีคนเก่ง และพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ให้สูงยิ่งขึ้น ไม่ใช่มักง่าย ใช้นโยบายเดียวกับโรงเรียนทุกแห่งทั่วประเทศ จนดึงโรงเรียนที่มีศักยภาพสูงให้ตกต่ำลง ขณะเดียวกัน โรงเรียนที่มีศักยภาพปานกลาง หรือคุณภาพต่ำอยู่แล้ว ก็ยิ่งย่ำแย่ลงไปอีก!!
Cheer#25 Ronaldo07 Edwin Vandersar19
Offline
จากที่ได้ดูผลคะแนนแล้วยังตกใจเหมือนกันครับ
โรงเรียนสาธิตตจว.เก่งเกินความคาดหมายมาก
(บางทีเริ่มอยากไปเรียน)
M y H ! 5 5 + >> http://puzzaa.hi5.com
Offline
สม 555 กระทรวงมันบ้า
เล่นรับเด็กในพื้นที่เยอะ สอบเข้านิดเดียว
แล้วความพร้อมของโรงเรียนมันก็ไม่เท่ากัน
แทนที่จะมีโรงเรียนเก่งๆ ไปเลย ก็กลายเป็นโง่หมดทุกโรงเรียน -*-
Last edited by godome (2006-07-15 15:35:45)
SKN#28 NO.18428 17/05/2004 - 22/02/2010
Offline
คือมันไม่ใช่ว่า รร ชื่อดัง จะต้องเก่งเสมอไปหรอกนะ ..
ผมว่า (ความเห็นส่วนตัว) การที่ รร ชื่อดังบางแห่ง ผลการเรียนตก ลงอาจเป็นเพราะรับเงินเยอะไปหน่อยนะ - -"
แค่นี้แหละ .. แต่บอกไว้อย่าง
ถึงเราจะเรียนที่ไหนมันก้อไม่สำคัญหรอกครับ .. มันอยู่ที่ตัวเราต่างหากล่ะ
มันทนไม่ได้ครับ .. น่ารักเกินไป 555+
จิงๆนะครับ .. *0*
Offline
เห็นด้วยกับนอท
เรียนที่ไหนก็เหมือนกันล่ะ
บางทีเราอาจยึดติดชื่อเสียง ร.ร.มากเกินไปน่ะ
Last edited by Toey~Fud You Yo (2006-07-14 20:31:04)
.,กุหลาบเปลี่ยนกระถางไม่จางสี ไม่ลืมที่เคยอบรมบ่มนิสัย *
รักสามศูนย์หนึ่ง* ~ ; สวนเตรียม '
Offline
คงงั้นแหละ.. อยู่ที่ตัวเรา... แต่ส่วนหนึ่งมันก็มีปัจจัยจากสภาพแวดล้อมด้วยนะ... คนเราถูกชักนำได้ง่าย โดนเพื่อนพาโดดเรียน..โดนเพื่อนพาหนีเรียน บลาๆๆ - -"
แต่ไหงเน้นว่าสวนกุหลาบจังฟ่ะ...
Offline
ดูแล้ว อนาถตัวเองดีครับ แพ้ร.ร.อื่นๆเนี่ย
มันก็ใช่อะแหละครับ ในเรื่องการรักนักเรียนเนี่ย
แต่ที่ๆเข้ามา แล้วมาทำอย่างนี้ ก็พวกๆเรากันทั้งนั้นแหละครับ
ปรับเปลี่ยนครับนำสวนกุหลาบฯ สู่สภาวะ ที่สวนกุหลาบฯเคยเป็น
อย่าให้แย่กว่านี้จะดีกว่านะครับ
Offline
ไม่รุ้ดิ ไม่ค่อยอยากให้ความเหน -- --
แต่ ไม่ชอบ ไอ่ opinion ท้ายๆบทความ
ที่มีแต่กล่าวถึง สวนกุหลาบๆ อยุ่ได้ . .
ถามว่า แล้ว ภาพที่ออกมาจริงๆ มันใช่รึป่าว ?
ที่จัดชาร์ทนึง ได้ที่2 อีกชาร์ทได้ที่ 30กว่าๆ
สรุป มันคือ จัดลำดับด้านวิชาการเหมือนกันหรอ ??
เอาอะไรมาเปนเกณฑ์ว้ะ ?
Offline
Pages: 1